นามสกุล จันทโรจวงศ์ ของ เจ้าพระยาสุรินทราชา_(จันทร์_จันทโรจวงศ์)

เป็นนามสกุลที่พระราชทานให้แก่ พระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร)เจ้าเมืองพัทลุง [13] [14] [15] และหลวงศรีวรรัตร (พิณ)ครั้งยังเป็นหลวงจักรานุชิต ตามประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 17 วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2457 ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 31 หน้า 593 สำหรับผู้ที่สืบสายโลหิตโดยตรงจากเจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์)[16] [17] [18] [19]

จวนเจ้าเมืองพัทลุง [20] เดิมเป็นที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง เรียกว่า วังพัทลุง แยกเป็น วังเก่าและวังใหม่ [21] ปัจจุบันทายาทได้มอบให้เป็นสมบัติของชาติ ดูแลอนุรักษ์โดยกรมศิลปากร โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำเมืองพัทลุง ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเที่ยววังเก่าเจ้าเมืองพัทลุง สำหรับศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และ ศิลปวัฒนธรรม สมัยต้นกรุงรัตโกสินทร์ เปิดทุกวัน เว้นวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น.[22] [23] ทั้งนี้กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานวังเก่า เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 และวังใหม่ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526

เขียนแบบอักษรโรมัน

เขียนสะกดคำ ตามที่ได้ขอพระราชทานในราชกิจจานุเบกษา ว่า Chandrochavansa ปัจจุบันลูกหลานผู้สืบสกุลนิยมเขียนเป็น Chantharojwong แทน และส่วนน้อยจะเขียนว่า Chantarojwong

บรรพบุรุษ สกุลจันทโรจวงศ์ และผู้ที่สืบมาจากสายโลหิตเดียวกันในสกุลอื่น

เจ้าพระยาสุรินทราชา(จันทร์ จันทโรจวงศ์)ผู้เป็นต้นสกุลจันทโรจวงศ์ มีสายโลหิตสัมพันธ์กับผู้เป็นต้นสกุลอื่นๆ ที่สืบมาจากบรรพบุรุษเดียวกันคือ - พราหมณ์ ศิริวัฒนะ [24] [25] โดยมีสกุลต่างๆดังนี้ สกุล ทองอิน,อินทรพล ,ราชสกุล นรินทรกุล ,สกุล สิงหเสนีย์ ,สกุล ชัชกุล, สกุล ภูมิรัตน์,สกุล สุจริตกุล,สกุล บุรณศิริ,สกุล ศิริวัฒนกุล, สกุล โรจนกุล [26]

ลำดับผู้สืบสายโลหิตโดยตรง จาก เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์) ต้นสกุล จันทโรจวงศ์

นับตั้งแต่เริ่มต้นสกุลถึงปัจจุบัน มีผู้สืบสกุลจาก เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์)แยกไปแต่ละสาย โดยนับจากเจ้าพระยาสุรินทราชา ต้นสกุล จันทโรจวงศ์เป็นชั้นที่ 1 บุตรธิดาของเจ้าพระยาสุรินทราชา เป็นชั้นที่ 2 [27] และเมื่อนับลำดับชั้นไปเรื่อยๆ ถึงปัจจุบัน มีผู้สืบสกุลลงไปถึงชั้นที่ 10 การสืบสกุลยึดถือตามหลักการสืบสกุลโดยทั่วไปตามพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 กล่าวคือ บุตรชายเป็นฝ่ายสืบสกุล ในขณะที่ฝ่ายหญิง เมื่อไปแต่งงานกับสกุลอื่น บุตรธิดาที่เกิดขึ้นจะไปใช้นามสกุลฝ่ายสามีผู้เป็นบิดา [28] เมื่อนับรวมลูกหลานผู้สืบสกุลทั้งหมดจึงมีอยู่เป็นจำนวนมาก จัดแยกไปแต่ละสายต่าง ๆ คือ สายหลวงเทพภักดี (นัน จันทโรจวงศ์), สายพระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร จันทโรจวงศ์), สายหลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจวงศ์) และสายนายนิเวศ

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจ้าพระยาสุรินทราชา_(จันทร์_จันทโรจวงศ์) http://202.28.69.49/test/Catalog/BibItem.aspx?Keyw... http://atcloud.com/stories/82445 http://www.holidaythai.com/phattalung_attractions_... http://www.hotsia.com/thailandinfo/oldcity/phattka... http://www.liveinbangkok.com/forum/index.php?topic... http://nanagara.com/article_08p1.php http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?st... http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?st... http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp... http://travel.sanook.com/trip/trip_10250.php